การวิเคราะห์คุณภาพน้ำมันหล่อลื่นใช้แล้ว

การวิเคราะห์คุณภาพน้ํามันหล่อลื่นใช้แล้ว ด้วยวิธี Used Oil Analysis น้ํามันหล่อลื่นสําเร็จรูปผลิตจากการผสมน้ํามันหล่อลื่นพื้นฐาน ซึ่งอาจเป็นตัวเดียวหรือหลายตัว ผสมกับสารเพิ่มคุณภาพ เพื่อปรับปรุงคุณสมบัติ ลักษณะ หรือ ประสิทธิภาพของน้ํามันพื้นฐานให้ดีขึ้น เพื่อให้เหมาะสมกับลักษณะการใช้งานแต่ละประเภท เมื่อผ่านการใช้งานในเครื่องยนต์ที่มีการเผาไหม้ การเสียดสี อาจเกิดปฏิกิริยาความร้อน หรือการเกิดปฏิกิริยาการรวมตัวออกซิเจน และสารปนเปื้อนต่างๆ เช่น น้ํา เศษโลหะ กรดและยางเหนียว สารอินทรีย์ เป็นต้น ทําให้คุณสมบัติทางกายภาพและเคมีของน้ํามันหล่อลื่น เปลี่ยนแปลงไป เช่น คุณสมบัติในการหล่อลื่นลดลง มีความหนืดเพิ่มขึ้น มีสีดําจากเขม่าและการเผาไหม้ มีการ เปลี่ยนแปลงทางเคมีจากปฏิกิริยาออกซิเดชั่น มีโลหะหนักเจือปน เป็นต้น จึงต้องมีการกําหนดอายุการเปลี่ยน ถ่ายน้ํามันหล่อลื่น โดยทั่วไปจะเปลี่ยนถ่ายตามคําแนะนําในคู่มือประจํารถ และอีกวิธีจะกําหนดโดยการ วิเคราะห์คุณภาพน้ํามันหล่อลื่นใช้แล้ว การตรวจสอบคุณภาพของน้ํามันหล่อลื่น โดยวิธีการวิเคราะห์น้ํามันหล่อลื่นใช้แล้ว (Used Oil Analysis) เป็นการนําน้ํามันหล่อลื่นใช้แล้วมาวิเคราะห์คุณสมบัติทางเคมีและกายภาพในห้องปฏิบัติการ ซึ่งมีวัตถุประสงค์ ดังนี้

 ๑. เพื่อติดตามตรวจสอบคุณภาพ และการกําหนดอายุการเปลี่ยนถ่ายน้ํามันหล่อลื่น

๒. เพื่อติดตามตรวจสอบสภาพและการสึกหรอของเครื่องยนต์

๓. เพื่อหาปัญหาที่เกิดขึ้นกับน้ํามันหล่อลื่นและเครื่องยนต์ โดยจะดําเนินการเป็น ๓ ส่วนหลัก คือ

๑. การวิเคราะห์คุณสมบัติของน้ํามันหล่อลื่น เป็นการวิเคราะห์ที่มุ่งเน้นคุณสมบัติทางเคมี และทางกายภาพ เช่น ความหนืด ความเป็นกรด-ด่าง จุดวาบไฟ และความถ่วงจําเพาะ เนื่องจากเมื่อน้ํามัน หล่อลื่นถูกใช้งานไปคุณสมบัติเหล่านี้ จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงไปด้วย

๒. การวิเคราะห์สิ่งสกปรกปนเปื้อนที่มาจากสิ่งแวดล้อมหรือถูกสร้างขึ้นภายในระบบหล่อลื่น เป็นการวิเคราะห์เพื่อตรวจหาน้ํามันเชื้อเพลิง น้ํา ฝุ่น คราบเขม่า สิ่งสกปรก ซึ่งมีผลในการเร่งปฏิกิริยาการ เปลี่ยนแปลงคุณสมบัติทางเคมีและทางกายภาพ ทําให้น้ํามันหล่อลื่นขาดคุณสมบัติที่เหมาะสมในการใช้งาน อีกทั้งอาจเป็นสาเหตุที่ทําให้เครื่องยนต์เครื่องจักรมีการสึกหรอเพิ่มขึ้น

๓. การวิเคราะห์อนุภาคโลหะที่สึกหรอ เป็นการวิเคราะห์หาความเข้มข้นและลักษณะ อนุภาคโลหะของเครื่องยนต์เครื่องจักรที่สึกหรอ และปนเปื้อนมาในน้ํามันหล่อลื่น หัวข้อการวิเคราะห์ที่สําคัญ

– ค่าความหนืด เป็นการวัดคุณสมบัติด้านการต้านทานการไหลของน้ํามันหล่อลื่น เนื่องจาก น้ํามันหล่อลื่นควรมีความหนืดที่เหมาะสมที่ทําให้สามารถไหลผ่านไปตามจุดต่างๆ ได้ง่าย นอกจากนี้ ความหนืด ยังสามารถใช้ตรวจสอบคุณภาพของน้ํามันหล่อลื่นได้ด้วย เช่น ถ้าน้ํามันหล่อลื่นมีความหนืดลดลงอาจเกิดจาก การเจือปนของน้ํามันเชื้อเพลิง หรือ ถ้าความหนืดเพิ่มขึ้นอาจเกิดจากการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่น หรือเกิดจาก การเสื่อมสภาพของสารเพิ่มคุณภาพ หรือน้ํามันหล่อลื่นพื้นฐาน

– ค่าความเป็นด่าง เป็นตัวบ่งชี้ถึงการเสื่อมคุณภาพของน้ํามันขณะใช้งาน

– ค่าความเป็นกรด เป็นตัวบ่งชี้ถึงการเสื่อมคุณภาพของน้ํามันขณะใช้งาน

– จุดวาบไฟ มีผลด้านความปลอดภัยในการเก็บรักษาและการขนส่ง

– เขม่า เป็นการวิเคราะห์สิ่งสกปรกปนเปื้อนที่มาจากระบบหล่อลื่น – น้ํา เป็นการวิเคราะห์สิ่งสกปรกปนเปื้อนที่มาจากสิ่งแวดล้อมหรือถูกสร้างขึ้น ภายในระบบหล่อลื่น

– ความคงตัวต่อการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่น เป็นตัวบ่งชี้ถึงความเสถียรของน้ํามันต่อการ เกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่น

– ค่าความสึกหรอของเครื่องยนต์เครื่องจักร โดยการวิเคราะห์ปริมาณธาตุโลหะที่ปนอยู่ในน้ํามัน หล่อลื่นใช้แล้ว เช่น ธาตุเหล็ก อลูมิเนียม ทองแดง ตะกั่ว โครเมียม นิเกิล ซิลิกอน ดังนั้น การวิเคราะห์น้ํามันหล่อลื่นใช้แล้ว จึงเป็นอีกวิธีที่สามารถบ่งชี้คุณภาพของน้ํามัน หล่อลื่น การกําหนดอายุการเปลี่ยนถ่ายน้ํามันหล่อลื่น รวมทั้งสามารถใช้ในการตรวจสอบสภาพและการ สึกหรอของเครื่องยนต์เครื่องจักรได้อีกด้วย
สํานักคุณภาพน้ํามันเชื้อเพลิง กันยายน ๒๕๕๕